Social Icons

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

บทที่ 9 e-Goverment


  • การก้าวไปสู่ e-government จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการทำงาน และการให้บริการของภาครัฐเพื่อให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเดิม
  • ประเทศฝรั่งเศส เป็นแชมป์ e.government ที่เร็วที่สุดในปี ค.ศ.2000
  • ประเทศไทยมีการกล่าวถึงในกฏหมายสูงสุดของประเทศคือ รัฐธรรมนูญฯ ในมาตรา  78 หรือแผนสภาพัฒน์ฯ ฉบับที่ 8 ที่กล่าวถึงการนำเอาไอทีมาใช้เพื่อเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานของรัฐกับภาคเอกชน
e-government หรือรัฐอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วยหลักการที่เป็นแนวทาง 4 ประการคือ
  1. สร้างบริการตามความต้องการของประชาชน
  2. ทำให้รัฐและการบริการของรัฐเข้าถึงได้มากขึ้น
  3. เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยทั่วกัน
  4. มีการใช้สารสนเทศที่ดีกว่าเดิม
  • e-government คือวิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหมท่ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอรืและเครือข่ายเพื่อประสิทธิภาพของผลงานภาครัฐ และปรับปรุงการบริการแก่ประชาชน และการบริการด้านข้อมูลเพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับรัฐมากขึ้น
  • การให้บริการของรัฐมุ่งเป้าไปที่กลุ่มคน 3 กลุ่มคือ ประชาชน ภาคธุรกิจและข้าราชการ
  • e-government เป็นพื้นฐานของ e-service เพราะการให้บริการของรัฐต่อประชาชนนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องมีเครือข่ายภ่ยในระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเองที่มีความปลอดภัย และทำให้องค์กรสามารถแลกเปลี่ยนสารสนเทศกันได้


  • หลักของ e-government จะเป็นแบบ G2G G2B และ G2C ระบบต้องมีความมั่นคงปลอดภัยเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐ

  1. รัฐกับประชาชน (G2C) เป็นการให้บริการของรัฐสู่ประชาชนโดยตรง สามารถดำเนินธุรกรรมผ่านเครือข่ายสารสนเทศของรัฐ เช่น การชำระภาษี การจดทะเบียน ที่ดำเนินการให้บริการข้อมูลผ่านเว็บไซด์ โดยการดำเนินการนั่นจะต้องเป็นการทำงานแบบ Online และ Real Time มีการรับรองและการโต้ตอบที่มีปฏิสัมพันธ์
  2. รัฐกับเอกชน (G2B) เป็นการให้บริการภาคธุรกิจเอกชน อำนวยความสะดวกต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันโดยความเร็วสูง เช่น การจดทะเบียนทางการค้า การส่งเสริมการลงทุน การส่งออกและการรนำเข้า ฯลฯ
  3. รัฐกับรัฐ (G2G) เดิมจะติดต่อสื่อสารกันโดยกระดาาและลายเซ็นต์ โดยมีการเปลี่ยนแปลงโดยการใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศและลายมือชื่ออิเล้กทรอนิกส์เพื่อความเร็วในการดำเนินการ ลดระยะเวลาในกาส่งเอกสารและข้อมูลระหว่างกัน
  4. รัฐกับข้าราชการและพนักงานของรัฐ (G2E) โดยสร้างระบบเพื่อช่วยให้เกิดเครื่องมือที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน เช่น ระบบสวัสดิการ ระบบที่ปรึกษากฏหมายเป็นต้น
ระบบ E-Tending 
          ระบบการยื่นประมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นระบบการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง กระบวนการสลับซับซ้อน การจัดซื้อจัดจ้างโดยอาศัยวิธีการประกวดราคาตามระเบียบนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ


ระบบ E-Purchasing
          ระบบจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น 2 ระบบย่อย
  1. ระบบE-Shoping ระบบการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่มีมูลค่าไม่สูง กระบวนการไม่ซับซ้อน เช่น การจัดซื้อวัสดุสำนักงาน ิสามารถทำผ่านระบบ E-Catalog การลงทุนเพื่อจัดทำระบบ E-shoping จะมีความคุ้มทุนก็ต่อเมื่อมีความถี่ในการซื้อสินค้าบ่อยครั้ง หน่วยงานรัฐที่เข้าร่วมโครงการนี้ต้องเป็นหน่วยงานขนาดใหญ่,รวมกลุ่มของหน่วยงานภาครัฐเข้าด้วยกัน
  2. ระบบ E-Auction เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างและบริการที่มีมูลค่าศูงหรือปริมาณมาก และมีกระบวนการดำเนินงานไม่สลับซับซ้อนมากนัก เช่น การจัดซื้อคอมพิวเตอร์ โดยวิธีการประมูลทั้งแบบ Forward Auction กับ Reverse Auction

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Blogger Templates