บทที่ 2 E-business infrastructure
E-business infrastructure หมายถึงการรวมกันของฮาร์ดแวร์เช่น Server, Client ในองค์กรรวมถึงการใช้เครือข่ายในการเชื่อมโยงฮาร์ดแวร์เหล่านี้และการใช้งานซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการส่งมอบบริการให้กับผู้ใช้งานที่อยู่ในบริษัทและยังรวมถึงคู่ค้าและลูกค้าของตน ซึ่งคำว่า Infrastructure ยังรวมไปถึงสถาปัตยกรรมทางด้าน Hardware , Software และ เครือข่าย ที่มีอยู่ในบริษัทด้วย
ส่วนประกอบของโครงสร้างพื้นฐาน E-business infrastructure components
1. E-business service applications layer ชั้นของแอปฟลิเคชั่น คือ ชั้นของโปรแกรม ต่างๆ
จะเป็นการใช้แอปฟลิเคชั่น โดยไม่สนใจซอฟต์แวร์
2. System Software layer การนำโปรแกรมที่มาใช้งานให้ประสบความสำเร็จในชั้นที่ 1 เป็นเรื่อง
ของการจัดการซอฟต์แวร์
3. Transport or Network layer เป็นชั้นที่ใช้ในการสื่อสาร เช่น พวกโปรโตคอลต่างๆ ประสาน
งานกับเครื่องแม่ข่ายกับลูกข่าย
4. storage/Physical layer เป็นชั้นที่ใช้เก็บพวกข้อมูลต่างๆ เช่น ฮาร์ดดิกส์ แรม ว่าเก็บข้อมูลไว้
ในส่วนไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ใช้อะไรเก็บ
5. Content and Data layer ชั้นนี้เกี่ยวข้องกับพวก อินเตอร์เน็ต เอ็กทราเน็ต อินทราเน็ต
จะเป็นการใช้แอปฟลิเคชั่น โดยไม่สนใจซอฟต์แวร์
2. System Software layer การนำโปรแกรมที่มาใช้งานให้ประสบความสำเร็จในชั้นที่ 1 เป็นเรื่อง
ของการจัดการซอฟต์แวร์
3. Transport or Network layer เป็นชั้นที่ใช้ในการสื่อสาร เช่น พวกโปรโตคอลต่างๆ ประสาน
งานกับเครื่องแม่ข่ายกับลูกข่าย
4. storage/Physical layer เป็นชั้นที่ใช้เก็บพวกข้อมูลต่างๆ เช่น ฮาร์ดดิกส์ แรม ว่าเก็บข้อมูลไว้
ในส่วนไหน เมื่อไหร่ อย่างไร ใช้อะไรเก็บ
5. Content and Data layer ชั้นนี้เกี่ยวข้องกับพวก อินเตอร์เน็ต เอ็กทราเน็ต อินทราเน็ต
Key management issues of e-business infrastructure
1. ประเภทของ E-business ที่เกี่ยวข้องกับแอปฟลิเคชั่่น เช่นก่ารจัดซื้อจัดจ้าง การรักษาความ
ปลอดภัยของการจัดซื้อ การบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์ เป็นต้น
2. ใช้เทคโนโลยีอะไรเพื่อให้ถึงเป้าหมาย เช่น e-mail เป็นต้น
3. ทำอย่างไรเพื่อจะให้บริการต่างๆ มีประสิทธิภาพ
4. จะนำบริการนี้ไปติดตั้งไว้ที่ไหนอย่างไร เช่นเอาไปติดตั้งที่เครื่อง server เอง หรือ ใช้บริการบริษัทภายนอกองค์กร
Internet ช่วยให้การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องที่เชื่อมต่อทั่วโลก ดังนั้นอินเทอร์เน็ตจึงเป็นระบบเขนาดใหญ่ในรูปแบบ Client / Server
Intranet applications
อินทราเน็ตถูกใช้อย่างกว้างขวางเพื่อรองรับการขายในด้านธุรกิจ e - commerce โดยเน้นทำงานจากฝ่ายการตลาดเป็นหลัก ซึ่งจะช่วยสนับสนุนกิจกรรมหลักของ supply-chain management
อินทราเน็ตถูกใช้อย่างกว้างขวางเพื่อรองรับการขายในด้านธุรกิจ e - commerce โดยเน้นทำงานจากฝ่ายการตลาดเป็นหลัก ซึ่งจะช่วยสนับสนุนกิจกรรมหลักของ supply-chain management
Extranet applications
เอ็กซ์ทราเน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้การเข้าถึงข้อมูลโดยควบคุมจากภายนอกองค์กร สำหรับธุรกิจที่เฉพาะเจาะจง
Firewalls
ถ้าแปลเป็นภาษาไทย จะหมายถึง กำแพงไฟ ซึ่งน่าจะหมายถึงการป้องกันการบุกรุก โดยการสร้างกำแพง อย่างไรก็ตาม ความหมายของ Firewall สามารถอธิบายได้ดังนี้ คือ Firewall เป็นเครื่องมือที่ใช้สำหรับป้องกันระบบ Network (เครือข่าย) จากการสื่อสารทั่วไปที่ถูกบุกรุก จากผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต เป็นเรื่องเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยในระบบ Network หรือระบบเครือข่าย การป้องกันโดยใช้ระบบ Firewall นี้จะเป็นการกำหนดกฏเกณฑ์ในการควบคุมการเข้า-ออก หรือการควบคุมการรับ-ส่งข้อมูล ในระบบเครือข่าย นั่นเอง
Web technology
World Wide Web, หรือเรียกสั้นๆว่า ‘web’ คือขั้นตอนมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข้อมูลสาธารณะบนโลกอินเทอร์เน็ต โดยรูปแบบเอกสารพื้นฐานคือ HTML (Hypertext Markup Language) และเป็นการบริการหนึ่งในรูปแบบต่างๆของการให้บริการของอินเตอร์เน็ต สำหรับผู้พัฒนาเว็บ
World Wide Web, หรือเรียกสั้นๆว่า ‘web’ คือขั้นตอนมาตรฐานในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข้อมูลสาธารณะบนโลกอินเทอร์เน็ต โดยรูปแบบเอกสารพื้นฐานคือ HTML (Hypertext Markup Language) และเป็นการบริการหนึ่งในรูปแบบต่างๆของการให้บริการของอินเตอร์เน็ต สำหรับผู้พัฒนาเว็บ
Web broswsers and servers
-- เว็บเบราว์เซอร์ (web browser) เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ
-- เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web Server) ความหมาย คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งให้บริการที่เก็บเว็บไซต์ (Server) แล้วให้ผู้ใช้ (Client) เรียกชมหน้าเว็บไซต์ได้โดยใช้โพรโทคอล HTTP ผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์
Internet - access software applications
-- Web 1.0
ลองนึกย้อนไปตอน Internet เพิ่งเริ่มมีการพัฒนาอย่างจริงๆจังๆ (คงไม่รวมเอาแบบยุคเริ่มต้นเกินไปก็ได้นะ) เราจะเริ่มหรือเคยเห็นมีเว็บไซต์หลากหลาย ซึ่งส่วนใหญ่เจ้าของเว็บไซต์ก็จะเป็นการนำเอาข้อมูลที่ตัวเอง ต้องการนำเสนอไปทำในรูปแบบของ html หรือข้อมูลต่างๆที่เราเห็นอยู่นั่นแหละไปใส่ไว้ในเว็บไซต์ หรืออินเตอร์เน็ต ส่วนเราผู้ใช้ก็มีหน้าที่ คือกดเข้าไปอ่านส่วนเจ้าของก็คือมีหน้าที่คือ Update ข้อมูลเข้ามาทำกันไปกันมาแบบเดียวกันนี้แหละ ซึ่งโดยสรุปเราอาจจะเรียกวิธีการแบบนี้ว่าเป็นการสื่อสารแบบทางเดียว หรือเรียกว่า One Way Communication ก็ได้
-- Web 2.0
จาก WEB 1.0 ต่อมาเว็บไต์ก็เริ่มมีการพัฒนา พวก WEB Board, Blog, มีการนำภาพมาแชร์ นำ วีดีโอ มา Post มีการแชร์ แบ่งปัน แลกเปลี่ยน พูดคุย ถกเถียงกัน นินทา ประจาน ใส่ร้ายก็มี ทั้งจากเจ้าของเว็บไซต์เอง หรือจากคนที่เข้ามาใช้งานเว็บไซต์กันเองเรียกว่า ผู้ใช้กลายเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ ข้อมูล หรือ Content ในเว็บไซต์นั้นมีการ update และพัฒนา ปรับปรุง อย่างรวดเร็ว ซึ่งทำให้เว็บไซต์มีรูปแบบของการสื่อสารเป็นแบบสองทาง หรือ Two Way Communication ซึ่งพอมาถึงจุดนี้ทำให้ อินเตอร์เน็ตมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมากกกก ลองดูข้อมูลที่ผมได้มา จากภาพก็พอจะเข้าใจว่าเกิดไรขึ้นบ้างในช่วงเวลาไม่กี่ปีของการพัฒนาจาก WEB 1.0 มาเป็น web 2.0
-- Web 3.0
จาก WEB 2.0 ก็เริ่มขยับก้าวเข้ามาสู่ช่วงของ WEB 3.0 ...แล้วอะไรละที่เพิ่มเข้ามา ก็มีคนสรุปไว้ค่อนข้างเยอะ ผมเองก็อ้างอิงและผนวกกับประสบการณ์และมุมมองส่วนตัวเข้ามาว่า สื่งที่คนพัฒนาเว็บกำลังพยายามทำกันต่อก็คือ แก้ไขปัญหาของข้อมูลหรือ Content ที่ไม่มีคุณภาพต่างๆ ที่ WEB 2.0 ได้สร้างขึ้น ซึ่งมีการขยายขนาดและเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วแล้วทำยังไงละผู้ใช้ถึงจะสามารถเข้าถึง Content หรือสิ่งที่ตัวเองต้องการได้ง่ายและตรงความต้องการมากที่สุด สะดวกที่สุด ก็เลยมีการพูดถึง
Blog
บล็อกมาจากการผสมคำระหว่าง WEB ( Wolrd Wide Web) +LOG (บันทึก) = BLOG คือ เว็บไซต์ที่เจ้าของ หรือ Blogger สามารถบันทึกเรื่องราวของตนเองลงในเว็บได้ตลอดเวลา การสร้างเว็บบล็อกสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ไม่ซับซ้อน ไม่เสียสตางค์ ไม่จำเป็นต้องรู้ภาษา HTML อย่างน้อยขอให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์
Internet Forum
คือ บริการหนึ่งบนอินเทอร์เน็ตสำหรับการแสดงความคิดเห็นหรืออภิปราย ทำให้เกิดชุมชนเสมือนจริง(virtual community) ซึ่งจะแยกหัวข้อการอภิปรายตามหัวข้อความสนใจเฉพาะกลุ่ม
Wiki
วิกิ หรือ วิกี้ (wiki [ˈwɪ.kiː] หรือ [ˈwiː.kiː]) คือลักษณะของเว็บไซต์แบบหนึ่งที่อนุญาต ให้ผู้ใช้ เพิ่มและแก้ไขเนื้อหาได้โดยง่าย ซึ่งบางครั้งไม่จำเป็นต้องมีการลงทะเบียนเพื่อแก้ไข ด้วยความง่ายในการแก้ไขและโต้ตอบ วิกิเว็บไซต์มักจะถูกนำมาใช้ในการร่วมเขียนบทความ คำว่า "วิกิ" นี่ยังสามารถหมายถึงวิกิซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นตัวซอฟต์แวร์รองรับการทำงานระบบนี้ หรือยังสามารถหมายถึงตัวเว็บไซต์เองที่นำระบบนี้มาใช้งาน ระบบวิกิที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ วิกิพีเดีย
Instant Messaging
เมสเซนเจอร์ หรือ อินสแตนท์ เมสเซจจิง (อังกฤษ: instant messaging, IM) คือระบบการส่งข้อความทันที ระหว่างสองคน หรือกลุ่มคนในเน็ตเวิร์ก เดียวกัน เช่น การส่งข้อความผ่านทางอินเทอร์เน็ต
Folksonomy
หรือ ปัจเจกวิธาน คืออนุกรมวิธานที่ผู้ใช้สร้างขึ้นเอง ซึ่งใช้ในการแบ่งหมวดหมู่และค้นคืน หน้าเว็บ รูปภาพตัวเชื่อมโยงเว็บ และ เนื้อหาบนเว็บอื่นๆ โดยใช้กินติดป้ายที่ไม่จำกัดข้อความ โดยปกติโฟล์กโซโนมีทำงานผ่านอินเทอร์เน็ต อย่างไรก็ตามอาจจะถูกนำไปใช้ในบริบทอื่นเช่นกัน กระบวนการการติดป้ายแบบโฟล์กโซโนมีเจตนาที่จะเพิ่มความง่ายในการค้นหา ค้นพบ และหาตำแหน่ง เมื่อเวลาผ่านไป โฟล์กโซโนมีที่พัฒนาขึ้นมาอย่างดีตามหลักการแล้วสามารถใช้เป็นรายการคำศัพท์ที่ใช้ร่วมกัน ซึ่งสร้างขึ้นมาโดยผู้ใช้อันดับแรก และเป็นที่คุ้นเคยสำหรับผู้ใช้อันดับแรก เว็บไซต์ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดสองแห่งที่ใช้การติดป้ายแบบโฟล์กโซโนมีคือ ฟลิคเกอร์ และ del.icio.us อย่างไรก็ตามมีการชี้ประเด็นว่า ฟลิคเกอร์ ไม่ใช่ตัวอย่างที่ดีของ'โฟล์กโซโนมี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น