Social Icons

Featured Posts

วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558

แผนกลยุทธ์ ของบริษัท ไพโอเนีย อินดัสเตรียล ครีเอทีฟ จำกัด

แผนกลยุทธ์ทางด้านระบบสารสนเทศ
ของบริษัท ไพโอเนีย อินดัสเตรียล ครีเอทีฟ จำกัด

บริษัท ไพโอเนียอินดัสเตรียล ครีเอทีฟ จำกัด ได้จัดทำแผนกลยุทธ์โดยนำผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์องค์กรทั้งทางสภาวะแวดล้อมทางอุตสาหกรรมและสภาพการณ์องค์กร เพื่อหา จัดแข็ง จัดอ่อน โอกาส และอุปสรรคต่างๆ  เพื่อกำหนดกลยุทธ์และแนวทางในการดำเนินงานของบริษัท เพื่อให้สามารถตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจที่เกิดขึ้นอย่างรวกเร็วในปัจจุบัน

วิสัยทัศน์
                มุ่งมั่นพัฒนาสินค้าและบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า เพื่อก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดเครื่องใช้พลาสติก และลดการสร้างมลภาวะแก่สิ่งแวดล้อม

พันธกิจ
                1) มุ่งมุ่นในการพัฒนาสินค้าที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และตรงความต้องการของลูกค้า เพื่อสร้างความพอใจและความสัมพันธ์ที่ดีในระยะยาวกับลูกค้า
                2) มุ่งมั่นในการพัฒนาการให้บริการที่ดีให้มีความสะดวก รวดเร็ว และถูกต้องในการสั่งซื้อและการส่งมอบสินค้า
                3) มุ่งเน้นในการขยายส่วนแบ่งทางการตลาด โดยเฉพาะตลาดธุรกิจระดับย่อม (SME)
                4) สนับสนุนให้เกิดการผลิตสินค้าที่ทำจากพลาสติกชีวภาพ เพื่อลดการสร้างมลภาวะแก่สิ่งแวดล้อม

เป้าหมาย (Goal) (พ.ศ.2555 - พ.ศ. 2559)
                 เพิ ่มยอดขายให้ได้เป็น 700 ล้านบาท ภายในสิ้นปี 2559

วัตถูประสงค์ (Objective)
                 1) เพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้กับสินค้าของบริษัท ให้กลายเป็นสินค้าระดับสูง
                 2) เพื่อให้สินค้าเกิดความพึงพอใจในสินค้าและการบริการที่มีคุณภาพของบริษัท
                 3) เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด เพื่อความเป็นผู้นำของอุตสาหกรรมเครื่องใช้พลาสติกของประเทศ
                 4) เพื่อผลิตสินค้าด้วยวัตถุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ปัจจัยสู่ความสำเร็จของบริษัท (Critical Success Factor)
                  ผลิคสินค้าที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐานด้วยการออกแบบที่เป็นเอกลักษณ์ สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบถ้วน

แผนกลยุทธ์ (Strategy Plan)
                  บริษัท ไพโอเนียอินดัสเตรียล ครีเอทีฟ จำกัด ได้วางแผนกลยุทธ์สำหรับการดำเนินธุรกิจ ไว้ดังนี้

กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์
                  1) นำสินค้าขายดี มาปรับปรุง พัฒนา ทั้งในเรื่องของรูปแบบสินค้าและประโยชน์ใช้สอยเพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น
                  2) สรรหาวัตถุดิบชนิดใหม่ๆ เพื่อขยายสายผลิตภัณฑ์ (Product Line) เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าของบริษัท
                  3) ร่วมมือกับลูกค้าเพื่อช่วยกันพัฒนาสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาดมากขึ้น เพื่อลดอัตราเสี่ยงในการลงทุน สามารถผลิตสินค้าที่ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้มากที่สุด

กลยุทธ์ด้านการบริหารจัดการ
                  1) เพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการวิเคราะห์และวางแผนการผลิตให้มีความแม่นยำมากขึ้น เพื่อให้สินค้าเพียงพอต่อการขาย ประหยัดเวลา ลแะลดค่าใช้จ่ายในการผลิต โดยอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
                  2) ปรับปรุงระบบการส่งมอบสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อลดเวลา และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
                  3) พัฒนาระบบเพื่อให้สามารถตอบสนอง และสื่อสารกับลูกค้าได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า

กลยุทธ์ด้านการตลาด
                  1) ขยายตลาดไปสู่ธุรกิจระดับย่อม (Small and Medium Enterprise : SME) เนื่องจากธุรกิจระดับย่อมเป็นธุรกิจที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ทำให้ปัจจุบันมีธุรกิจระดับย่อมเกิดขึ้นมาก และถือเป็นกลุ่มตลาดที่น่าสนใจ
                  2) สร้างพันธมิตรทางการค้า เช่น การร่วมกลุ่มหรือสร้างเครือข่ายธุรกิจพลาสติกเพื่อเป็นแหล่งจัดหาวัตถุดิบ และแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีและข่าวสารเกี่ยวกับพลาสติก เป็นต้น
                 
                  

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ประวัติส่วนตัวนักศึกษา


ประวัติส่วนตัวนักศึกษา
ชื่อ        นาย พัฒนชาติ ก๋าทองทุ่ง
ชื่อเล่น  แอ็ค
เกิด       วัน พุธ ที่ 8 กุมภาพันธ์ 2532
อายุ      26 ปี
ที่อยู่     155/13 ม.4 ต. ร่องกาศ อ.สูงเม่น จ. แพร่
บิดา      พ.ต.ท ธนา ก๋าทองทุ่ง
มารดา  นาง ทัชชอร ก๋าทองทุ่ง
ปัจจจุบันกำลังศึกษาที่ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ คณะ การจัดการ สาขา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ที่อยู่ปัจจุบัน ธนสิริเพลส 61/1 ถนน เจดีย์ปล่อง ต.ช้างเผือก อ.เมือง จ.แพร่ 50300 เบอร์โทรศัพท์ : 0884179991

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

บทที่ 8 E-procurement


ระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-Procurement) เป็นระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการให้บริการที่เกี่ยวข้องในกิจกรรมการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ เพื่อทำให้ระบบการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ ใช้ระยะเวลาจัดหาพัสดุน้อยลง และได้พัสดุที่มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม รวมทั้งเพิ่มความโปร่งใสของกระบวนการจัดหาและสามารถติดตามตรวจสอบกระบวนการทำงาน


e-Procurement หมายถึง การทำงานในแต่ละขั้นตอนของระบบ ข้อมูลจะถูกจัดส่งและจัดเก็บไปในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งข้อมูลเหล่านี้พร้อมที่จะถูกนำไปวิเคราะห์ต่อไป โดยข้อมูลครอบคลุมตั้งแต่การค้นหาและเลือกสินค้าจาก e-Catalog การออกใบขอสั่งซื้อ การรับและการอนุมัติใบขอสั่งซื้อ การออกใบสั่งซื้อ การติดตามการสั่งซื้อ การตรวจรับสินค้าและการชาระเงิน

การพัฒนาระบบ e-Procurement ของการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐในประเทศไทย ควรเป็นไปเพื่อหนุนเสริมการปฏิรูประบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐโดยรวม


วัตถุประสงค์ในการพัฒนาระบบ e-Procurement ในประเทศไทย


- ความมีประสิทธิภาพ (Efficiency) จากการจัดซื้อสินค้าหรือบริการได้ตรง กับความต้องการของผู้ใช้
- ความพร้อมรับผิด (Accountability) และการสร้างระบบธรรมาภิบาล(Good Governance) โดยเจ้า หน้าที่ผู้รับผิดชอบระบบจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐควรต้องมี ความพร้อมรับผิดต่อการตัดสินใจของตน

- ความโปร่งใส (Transparency) โดยกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างต้องเป็นกระบวนการที่เปิดเผยต่อสาธารณะ
- ความคุ้มค่า (Value for Money) เพื่อลดปัญหาการที่หน่วยงานรัฐมักซื้อสินค้าหรือบริการในราคาที่แพงกว่าของภาคเอกชน


ความมุ่งหมาย ของ e-Procurement ในประเทศไทย


- ลดการรั่วไหลในระบบการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งจะนำไปสู่การลดค่าใช้จ่ายของ ภาครัฐ และส่งเสริมความโปร่งใสและธรรมาภิบาล ในการบริหารราชการแผ่นดิน
- ช่วยภาครัฐในการพัฒนาระบบการจัดซื้อจัดจ้างที่มุ่งไปสู่ระบบที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นโดยลดทรัพยากรที่ต้องใช้ไปกับการจัดซื้อจัดจ้าง


ประโยชน์ของการพัฒนาระบบ e-Procurement


- 1. เอกสารการยื่นประกวดราคา คำชี้แจงและคำอธิบาย และข้อมูลการตัดสิน ผลการประกวดราคาของโครงการต่าง ๆ ที่ผ่านการคัดเลือกไปแล้วมีความชัดเจนและครบถ้วนสมบูรณ์


- 2. การกระจายข้อมูล (Distribution) ไปยังผู้ที่เกี่ยวข้องฝ่ายต่าง ๆโดยเฉพาะ ผู้ค้าที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการดังกล่าวซึ่งอาจใช้วิธีการต่าง ๆ เช่น การส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องไปยังผู้ค้าโดยไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) ให้มีความรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์


- 3. การยื่นประกวดราคาผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Bid Submission) ซึ่งต้องมีการออกแบบตู้รับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Vault) ที่มีความปลอดภัย ไม่สามารถเปิดได้ก่อนเวลาที่กำหนด อันเป็นกระบวนการที่โปร่งใสและตรวจสอบได้ ทุกขั้นตอน


- 4. การเพิ่มความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพื่อให้เกิดบริการมูลค่าเพิ่ม (Value Added Service) ต่าง ๆ เช่น บริการสนับสนุนผู้ค้า (Supplier Support System) ต่าง ๆ เช่น ระบบสนับสนุนการ จัดทำเอกสารประกวดราคา ระบบการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ การบริหารห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain Management) ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง


- 5. การพัฒนาระบบ e-Catalog จะมีผลให้สินค้าและบริการในอนาคต ที่ส่วนราชการจัดหามีคุณภาพที่ดีในราคาที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น รวมทั้ง มีทางเลือกในการพิจารณาจัดหาพัสดุได้มากยิ่งขึ้น

ขั้นตอนของระบบ e-Procurement



- ค้นหาสินค้า/บริการที่จะซื้อผ่าน E-Catalog
- เลือกหมวดสินค้าที่ต้องการจะซื้อผ่าน E-Shopping List
- จัดประกาศเชิญชวนผ่าน Web-Site
- ผู้ขายเสนอคุณสมบัติของสินค้าทางอินเตอร์เน็ต (E-RFP)
- ผู้ซื้อตรวจสอบราคากลาง (E-RFQ) และ Track Record ของผู้ขาย
- ประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Auction)
- ประกาศผล ผู้ชนะและส่งมอบ/ตรวจรับพัสดุ
- จ่ายเงินตรงด้วยระบบ E-Payment



องค์ประกอบของระบบ e-Procurement

- ระบบ e–Catalog
- ระบบ e-RFP (Request for Proposal) / e-RFQ (Request for Quotation)
- ระบบ e– Auction
- ระบบ e-Data Exchange
- Website ศูนย์ข้อมูลจัดซื้อจัดจ้าง
- e-Market Place Service Provider


ระบบ e–Catalog

เป็นมาตรฐานระบบ Catalog ที่รวบรวมรายละเอียดของสินค้าและบริการ ซึ่งอำนวยความสะดวกให้ผู้ค้า/ผู้รับจ้าง(Supplies) ที่มีคุณสมบัติทำธุรกรรมสามารถเข้ามา ทำการแจ้งและปรับปรุงรายการสินค้า/บริการของตนเองได้ การจัดการ Catalog ของผู้ค้า/ผู้รับจ้าง จะดำเนินการผ่านระบบมาตรฐานกลางโดยสามารถ Login เข้าสู่ระบบการจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐเพื่อปรับปรุงรายการสินค้า/บริการเพื่อให้
ส่วนราชการสามารถเข้าสู่ระบบเพื่อค้นหาข้อมูลและพิจารณาสั่งซื้อจากสินค้า/บริการจาก e-Catalog ได้ตลอดเวลา


ระบบ e-RFP (Request for Proposal)และ e-RFQ (Request for Quotation)


เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกในขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างทางอิเล็กทรอนิกส์โดยวิธีสอบราคาหรือวิธีตกลงราคา


-ค้นหาข้อมูลผู้ขาย/ผู้รับจ้างและข้อมูลคุณลักษณะเฉพาะของสินค้า/บริการ (Specification) ของผู้ค้า/ผู้รับจ้างที่มาลงทะเบียนไว้


- แจ้งผู้ค้า/ผู้รับจ้างที่ได้รับการคัดเลือกในขั้นต้นโดยเป็นการแจ้งผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์


- การยื่นข้อเสนอ (Quotation/Proposal) ของผู้ค้า/ผู้รับจ้าง


- การคัดเลือกผู้ค้า/ผู้รับจ้างเพื่อรับงานซื้อ/จ้างจากหน่วยงานภาครัฐ


- การจัดทำใบขอซื้อ/ขอจ้าง รวมทั้งขั้นตอนการอนุมัติต่างๆ


ระบบ e– Auction


ส่วนที่ 1 Reverse Auction เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกในด้านการประมูลซื้อให้ได้ในราคาต่ำสุด ซึ่งจะใช้วิธีนี้ในกรณีที่สินค้า/บริการที่ต้องการจัดซื้อหรือจัดจ้าง e-RFP / e-RFQ มาดำเนินการประมูลผ่านทาง Internet แบบ Real-time ตามวันและเวลาที่กำหนด โดยการประมูลจะมี 2 แบบ คือ


- English Reverse Auction เป็นการประมูลที่ผู้ซื้อจะทราบสถานะของ การประมูลว่าผู้ที่เสนอราคาต่ำสุด เสนอราคาเท่าไร แต่ผู้เข้าประมูลจะไม่ทราบชื่อของผู้เข้าประมูลรายอื่น ๆ


- Sealed Bid เป็นการประมูลที่ผู้ซื้อจะไม่ทราบสถานะของการประมูลและ ราคาต่ำสุดของผู้ยื่นประมูล การยื่นข้อเสนอราคาแบบ Sealed Bidแบ่งเป็น 2 แบบ คือ แบบยื่นข้อเสนอได้เพียงครั้งเดียว และยื่นข้อเสนอได้หลายครั้งภายในระยะเวลาที่กำหนด


ส่วนที่ 2 Forward Auction เป็นระบบที่อำนวยความสะดวกในด้านการประมูลขาย ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้กับการจำหน่ายพัสดุที่หมดความจำเป็นของหน่วยงาน ภาครัฐโดยวิธีขายทอดตลาด ซึ่งเป็นการประมูลขายแบบผู้ชนะ คือ ผู้ที่เสนอราคาสูงสุด


ระบบ e-Data Exchange


เป็นระบบการเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ค้า เช่น
- การตรวจสอบความเป็นนิติบุคคล โดยร่วมมือกับกรมทะเบียนการค้าและกรมสรรพกร,
- การส่งข้อมูลในการตรวจสอบจำนวนเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรจากสำนักงบประมาณ แผนการใช้จ่ายเงิน (Cash Management)และการสั่งจ่ายเงิน (Direct Payment) ของกรมบัญชีกลาง
- การส่งข้อมูลตรวจสอบการเสียภาษีของผู้ค้าและผู้รับจ้าง โดยส่งข้อมูลสัญญาให้กรมสรรพากร และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
- การประกาศเชิญชวนผู้ค้าผ่าน Website หน่วยงานกลางที่เกี่ยวข้องได้แก่ กรมบัญชีกลาง กรมประชาสัมพันธ์ และองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย


e-Market Place Service Provider


- ตลาดกลางรวบรวมสินค้าและร้านค้าหรือบริษัท จำนวนมาก เพื่อเป็นสื่อกลางในการซื้อ-ขายสินค้าระหว่างกัน โดยรูปแบบของ E-Marketplace


ข้อดีของ e-procurement ในด้านของผู้ซื้อ

- กำหนดและสร้างพันธมิตรกับผู้ผลิตรายใหม่ได้ทั่วโลก
- ความสัมพันธ์กับพันธมิตรเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ทาให้มีอำนาจและต่อรองทางธุรกิจมากขึ้น
- ลดการกระจายสารสนเทศ
- สามารถส่งรูปภาพไปให้ผู้ผลิตหลาย ๆ แห่งในเวลาเดียวกัน
- ลดเวลาและค่าใช้จ่ายของกระบวนการ
- ได้รับการประมูลจากผู้ผลิตหลายรายเร็วขึ้น และทาให้การเจรจาต่อรองได้ผลดีกว่า


ข้อดีของ e-procurement ในด้านของผู้ขาย

- เพิ่มปริมาณการขาย
- ขยายตลาด และได้รับลูกค้ากลุ่มใหม่
- ดำเนินการบริหารการขาย และกิจกรรมทางการตลาดในต้นทุนต่ำ
- เวลาของกระบวนการสั้นลง
- พัฒนาให้พนักงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น
- กระบวนการประมูลเป็นไปในทิศทางเดียวกัน


ข้อดีของ e-Procurement

จะช่วยให้องค์กรสามารถลดงานที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่ากับองค์กรลง และทาให้ฝ่ายจัดซื้อมีเวลาวางแผนในส่วนของการจัดซื้อเชิงกลยุทธ์ (Strategic sourcing) ซึ่งเป็นหน้าที่ที่สำคัญมากขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

บทที่ 9 e-Goverment


  • การก้าวไปสู่ e-government จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการทำงาน และการให้บริการของภาครัฐเพื่อให้มีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเดิม
  • ประเทศฝรั่งเศส เป็นแชมป์ e.government ที่เร็วที่สุดในปี ค.ศ.2000
  • ประเทศไทยมีการกล่าวถึงในกฏหมายสูงสุดของประเทศคือ รัฐธรรมนูญฯ ในมาตรา  78 หรือแผนสภาพัฒน์ฯ ฉบับที่ 8 ที่กล่าวถึงการนำเอาไอทีมาใช้เพื่อเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานของรัฐกับภาคเอกชน
e-government หรือรัฐอิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วยหลักการที่เป็นแนวทาง 4 ประการคือ
  1. สร้างบริการตามความต้องการของประชาชน
  2. ทำให้รัฐและการบริการของรัฐเข้าถึงได้มากขึ้น
  3. เกิดประโยชน์แก่สังคมโดยทั่วกัน
  4. มีการใช้สารสนเทศที่ดีกว่าเดิม
  • e-government คือวิธีการบริหารจัดการภาครัฐสมัยใหมท่ที่เน้นการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอรืและเครือข่ายเพื่อประสิทธิภาพของผลงานภาครัฐ และปรับปรุงการบริการแก่ประชาชน และการบริการด้านข้อมูลเพื่อเพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับรัฐมากขึ้น
  • การให้บริการของรัฐมุ่งเป้าไปที่กลุ่มคน 3 กลุ่มคือ ประชาชน ภาคธุรกิจและข้าราชการ
  • e-government เป็นพื้นฐานของ e-service เพราะการให้บริการของรัฐต่อประชาชนนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องมีเครือข่ายภ่ยในระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกันเองที่มีความปลอดภัย และทำให้องค์กรสามารถแลกเปลี่ยนสารสนเทศกันได้


  • หลักของ e-government จะเป็นแบบ G2G G2B และ G2C ระบบต้องมีความมั่นคงปลอดภัยเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานของรัฐ

  1. รัฐกับประชาชน (G2C) เป็นการให้บริการของรัฐสู่ประชาชนโดยตรง สามารถดำเนินธุรกรรมผ่านเครือข่ายสารสนเทศของรัฐ เช่น การชำระภาษี การจดทะเบียน ที่ดำเนินการให้บริการข้อมูลผ่านเว็บไซด์ โดยการดำเนินการนั่นจะต้องเป็นการทำงานแบบ Online และ Real Time มีการรับรองและการโต้ตอบที่มีปฏิสัมพันธ์
  2. รัฐกับเอกชน (G2B) เป็นการให้บริการภาคธุรกิจเอกชน อำนวยความสะดวกต่อภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันโดยความเร็วสูง เช่น การจดทะเบียนทางการค้า การส่งเสริมการลงทุน การส่งออกและการรนำเข้า ฯลฯ
  3. รัฐกับรัฐ (G2G) เดิมจะติดต่อสื่อสารกันโดยกระดาาและลายเซ็นต์ โดยมีการเปลี่ยนแปลงโดยการใช้ระบบเครือข่ายสารสนเทศและลายมือชื่ออิเล้กทรอนิกส์เพื่อความเร็วในการดำเนินการ ลดระยะเวลาในกาส่งเอกสารและข้อมูลระหว่างกัน
  4. รัฐกับข้าราชการและพนักงานของรัฐ (G2E) โดยสร้างระบบเพื่อช่วยให้เกิดเครื่องมือที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน เช่น ระบบสวัสดิการ ระบบที่ปรึกษากฏหมายเป็นต้น
ระบบ E-Tending 
          ระบบการยื่นประมูลอิเล็กทรอนิกส์ เป็นระบบการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่มีมูลค่าสูง กระบวนการสลับซับซ้อน การจัดซื้อจัดจ้างโดยอาศัยวิธีการประกวดราคาตามระเบียบนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ


ระบบ E-Purchasing
          ระบบจัดซื้อจัดจ้างอิเล็กทรอนิกส์ แบ่งออกเป็น 2 ระบบย่อย
  1. ระบบE-Shoping ระบบการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่มีมูลค่าไม่สูง กระบวนการไม่ซับซ้อน เช่น การจัดซื้อวัสดุสำนักงาน ิสามารถทำผ่านระบบ E-Catalog การลงทุนเพื่อจัดทำระบบ E-shoping จะมีความคุ้มทุนก็ต่อเมื่อมีความถี่ในการซื้อสินค้าบ่อยครั้ง หน่วยงานรัฐที่เข้าร่วมโครงการนี้ต้องเป็นหน่วยงานขนาดใหญ่,รวมกลุ่มของหน่วยงานภาครัฐเข้าด้วยกัน
  2. ระบบ E-Auction เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างและบริการที่มีมูลค่าศูงหรือปริมาณมาก และมีกระบวนการดำเนินงานไม่สลับซับซ้อนมากนัก เช่น การจัดซื้อคอมพิวเตอร์ โดยวิธีการประมูลทั้งแบบ Forward Auction กับ Reverse Auction

วันศุกร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

บทที่ 7 e-SCM




1. วัตถุดิบ (Materials)การจัดการกลุ่มของกิจกรรมงาน คือ ตั้งแต่การรับวัตถุดิบมาจาก Supplies แล้วเปลียนวัตถุดิบนั้นให้เป็นสินค้าขั้นกลาง และสินค้าขั้ นสุดท้าย จนกระทั่งจัดส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าสิ่งที่จะทําให้เข้าใจถึงหน้าที่ของการผลิตและวิธีการควบคุมการผลิตนั้นเราจะต้องเข้าใจในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวในกระบวนการผลิตอยู่ 2 สิ่งหลักๆ คือ
2. สารสนเทศ (Information)

ขั้นตอนวิวัฒนาการไปสู่ระบบซัพพลายเซน
          มีต้นแบบมาจากการส่งลำเลียงเสบียงอาหารและอาวุธยุโธปกรณ์ตามระบบส่งกำลังบำรุงของทหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสงครามที่ต้องการความมั่นใจว่าอาวุธและเสบียงอาหารจะต้องจัดส่งให้เพียงพอกับความต้องการและไปยังสถานที่ที่กำหนดได้อย่างถูกต้องตรงเวลา เพื่อให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด จึงจำเป็นต้องวางแผนจัดลำดับก่อนหลังและรักษาประสิทธิภาพในการสื่อสารที่รวดเร็วและแม่นยำ
Helen Peek และคณะได้กล่าวถึงระยะของการเปลี่ยนแปลงธุรกิจเพื่อเข้าสู่กระบวนบริหารซัพพลายเซน 4 ระยะคือ


  1. องค์กรในรูปแบบพื้นฐาน (The Baseline Organization) เป็นการบริหารจัดการแบบดั้งเดิมที่ต้องสร้างผลกำไรสูงสุด โดยเน้นความชำนาญในการทำงานของแต่ละแผนก/ฝ่าย ซึ่งในรูปแบบนี้จะไม่สามารถปรับแผนการผลิตและการจัดหาวัตถุดิบได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในตลาดของผู้บริโภคเนื่องจากแต่ละแผนก/ฝ่ายต่างทำงานเป็นอิสระต่อกันไม่เกี่ยวกัน
  2. องค์กรที่รวมหน้าที่ทางธุรกิจเข้าด้วยกัน (The Functionally Integrated Company) ระยะนี้องค์กรจะเริ่มจัดตั้งเป็นบริษัท โดยในองค์กรมีการรวบรวมหน้าที่/ลักษณะงานที่เป็นประเภทเดียวกันเข้่าด้วยกัน ซึ่งจะไม่มีแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบออกจากกันอย่างเด็ดขาด เช่น ฝ่ายจัดการวัตถุดิบมีหน้าที่จัดซื้อ จัดสรร ควบคุมการใช้วัตถุดิบและปัจจัยการผลิตอื่นๆเป็นต้น
  3. องค์กรที่รวมการดำเนินการภายในธุรกิจไว้ด้วยกัน (The Internally Integrated Company) มีการพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างองค์กรของตนอย่างต่อเนื่อง โดยฝ่ายต่างๆมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกันทำให้มีการติดต่อประสานงานเชื่อมโยงระหว่างฝ่ายงานมากขึ้น การทำงานจึงมีความต่อเนื่องเหมือนห่วงโซ่ นอกจากนั่นกิจกรรมการผลิตบางอย่างยังสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันภายในองค์กรได้ด้วย ซึ่งเป็นการลดต้นทุนการผลิตได้ในระดับหนึ่ง
  4. องค์กรที่รวมการดำเนินงานภายนอกธุรกิจไว้ด้วยกัน (The Externally Integrated Company)ระยะนี้เป็นระยะที่บริษัทก้าวเข้าสู่รูปแบบการบริหารแบบซัพพลายอย่างเต็มตัว โดยบริษัทได้ปรับโครงสร้างการบริหารแบบซัพพลายเซนและเริ่มหันมาให้ความสำคัญกับกลยุทธ์การบริหารลูกโซ่อุปทานภายนอก โดยการเข้าไปทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์ เพื่อควบคุมการผลิตวัตถุดิบ และในบางกรณีอาจเปิดโอกาสให้ซัพพลายเออร์เข้ามาเปิดสถานี หรือโรงงานย่อยเพื่อนำส่งวัตถุดิบให้กับบริษัทได้อย่างสะดวก รวดเร็วและประหยัดต้นทุน


ปัญหาคือความสนใจที่แต่กต่างกันของผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น
- ลูกค้ามักต้องการสินค้าที่ถูกต้องสมบูรณ์แบบและมีราคาถูก
- พนักงานในสายการผลิตอยากรู้คําสั่งที่ถูกต้อง
- ฝ่ ายจัดซื้อต้องการได้วัตถุดิบที่ถูกต้อง มีคุณภาพ
- ผู้จําหน่ายวัตถุดิบต้องการคําสั่งซื้ อที่ถูกต้องเพื่อจะได้จัดส่งได้ถูกต้อง
- ผู้จัดการต้องการรายงานที่ถูกต้อง


กระบวนการ Supply Chain Management หรือ SCM เป็นกระบวนการของการบริหารทุกขั้นตอน นับ
ตั้งแต่การนำเข้าวัตถุดิบสู่กระบวนการผลิต กระบวนการสั่งซื้อ จนกระทั่งส่งสินค้าถึงมือลูกค้าให้มีความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมกับสร้างระบบให้เกิดการไหลเวียนของข้อมูลที่ทำให้เกิดกระบวนการทำงานของแต่ละหน่วยงานส่งผ่านไปทั่วทั้งองค์การ การไหลเวียนของข้อมูลยังรวมไปถึงลูกค้า และผู้จัดส่งวัตถุดิบด้วย

กระบวนการ Supply Chain Management มีส่วนสำคัญที่ช่วยให้องค์การยกระดับความสามารถในการบริหาร เช่น การลดสินค้าคงคลัง การเพิ่มผลิตภาพหรือการลดความสูญเปล่าในกระบวนการทำงาน ส่งเสริมความเติบโตของธุรกิจ เช่น การเพิ่มโอกาสในการออกสินค้าใหม่ให้เร็วขึ้น การเปิดตลาดใหม่ ๆ การสร้างความพอใจแก่ลูกค้ามากขึ้น ส่งเสริมความยั่งยืนของธุรกิจ เช่น การลดต้นทุนธุรกิจ การบริหารเงินทุนหมุนเวียน เป็นต้น

Supply Chain Management (SCM) คือ กระบวนการโดยรวมของการไหลของวัสดุ สินค้า ตลอดจนข้อมูล และธุรกรรมต่าง ๆ ผ่านองค์การที่เป็นผู้ส่งมอบ ผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย ไปจนถึงลูกค้าหรือผู้บริโภคโดยที่องค์การต่าง ๆ เหล่านี้มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจต่อกัน
Bullwhip Effect คือ ปํยหาที่เกิดจากความแปรปรวนเล็กน้อยของความต้องการถูกนำมาขยาย เมื่อส่งข้อมูลกลับต้นทาง


ประโยชน์ของการทํา SCM
1. การเคลื่อนไหลของวัตถุดิบและสารสนเทศเป็นไปอย่างราบรื่น
2. ปรับปรุงระดับของสินค้าคงเหลือ
3. เพิ่มความเร็วได้มากขึ้ น
4. ขจัดความสิ้นเปลืองหรือความสูญเปล่าต่างๆ ในกระบวนการทางธุรกิจให้หมดไปได้
5. ลดต้นทุนในกิจกรรมต่างๆ ได้
6. ปรับปรุงการบริการลูกค้า

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

บทที่ 6 e-CRM



Customer Relationship Management (CRM) เป็นกลยุทธ์ทางธุรกิจเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้า เรียนรู้ความต้องการที่แตกต่างกันของลูกค้า และตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยสินค้าหรือบริการที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ ละคนมากที่สุด กระบวนการทำงานของระบบ CRM มี 4 ขั้นตอน
Identify เก็บข้อมูลว่าลูกค้าของบริษัทเป็นใคร เช่น ชื่อลูกค้า ข้อมูลสำหรับติดต่อกับลูกค้า
Differentiate วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าแต่ละคน และจัดแบ่งลูกค้าออกเป็นกลุ่มตามคุณค่าที่ลูกค้ามีต่อบริษัท

Interact มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเพื่อเรียนรู้ความต้องการของลูกค้า และเพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าในระยะยาว
Customize นำเสนอสินค้าหรือบริการที่มีความเหมาะสมเฉพาะตัวกับลูกค้าแต่ละคน


รูปแบบหรือชนิดของ CRM

Operational CRM หรือ functional CRM หมายถึง กระบวนการ (process) และ technology ที่ใช้ในการให้บริการแก่ลูกค้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และ ความถูกต้องรวดเร็วของปฏิบัติการประจำวัน (day-today customer-facing operation) เช่นในด่านหน้า (front-office customer contact points) โทรศัพท์ internet, email, mailing รวมถึง sales force automation system (sales automation, marketing automation) customer service automation, call centers
Analytical CRM รวบรวม ค้นหา จัดระบบ วิเคราะห์หาข้อมูล/ความรู้เกี่ยวกับลูกค้า และนำเอาข้อมูล ต่างๆ รวมถึงพฤฒิกรรม เพื่อให้ผู้บริการนำมาใช้เมื่อ ลูกค้ามาติดต่อ หรือนำไปสร้างกระบวนการบริการของธุรกิจ
Strategic CRM องค์กร กำหนดให้เป็นกลยุทธ์สำคัญขององค์กร โดยเริ่มจากกลยุทธ์ทางธุรกิจขององค์กร และคำนึงถึงการพัฒนาความสัมพันธ์ต่อลูกค้าเพื่อสร้างการสร้างคุณค่าและรักษาความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้าและรายรับขององค์กร
Collaborative CRM มุ่งการใช้การบริการและศักยภาพของโครงสร้างภายใน(infrastructure) เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างองค์กรและช่องทางติดต่อกับลูกค้าทุกทาง (multiple channels possible) เช่นvoice technologies, web storefronts, email, conferencing, face-to-face interactions รวมถึง communication center, coordination network, customer interaction center- CIC


E-CRM หมายถึง กระบวนการจัดการสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าทางinternet มีการผสมผสานการใช้งานเทคโนโลยี บุคลากร และกระบวนการขายสินค้าหรือบริการเข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้มาซึ่งลูกค้า รักษาลูกค้าไว้และสร้างกำไรสูงสุดจากลูกค้า


องค์ประกอบของ E-CRM

1. ระบบการจัดการ
2. คน
3. เทคโนโลยี

ขั้นตอนการทำงานของ E-CRM

1.การวิเคราะห์ลูกค้า
ผู้ประกอบการธุรกิจจะต้องสามารถใช้ข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าที่มีอยู่ในฐานข้อมูลได้อย่างมีคุณค่าและมีประสิทธิภาพ และการเก็บข้อมูลของลูกค้าและการนำไปใช้ จึงควรมีการจัดการอย่างเป็นระบบ ดังนี้

-ศึกษาข้อมูลประวัติลูกค้า
-การจัดเก็บข้อมูลของลูกค้าให้ถูกต้องครบถ้วนและมีความละเอียดพอสมควรเก็บไว้ในฐานข้อมูล โดยการใช้เทคโนโลยีมาช่วยเก็บ
-จัดแบ่งกลุ่มลูกค้า อาจแบ่งตามพฤติกรรมการซื้อหรือการบริโภคผลิตภัณฑ์
-จัดเรียงลำดับลูกค้าตามความสำคัญที่มีต่อบริษัท


2.การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการตลาด
สภาพแวดล้อมทางการตลาดแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ระบบภายใน และ ระบบภายนอก ซึ่งทั้งสองระบบต่างมีความสำคัญต่อองค์กร หากมีจุดบกพร่องหรือเกิดข้อจำกัดขึ้นที่ใด อาจจะทำให้ธุรกิจประสบกับความล้มเหลวได้

3.การแบ่งส่วนตลาด
ซึ่งสามารถแบ่งลูกค้าออกเป็น 3 ประเภท คือ ลูกค้าที่เป็นธุรกิจค้าส่ง ธุรกิจค้าปลีก และผู้บริโภค

4.การกำหนดตลาดเป้าหมาย
สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภท Traders คือ กลุ่มคนกลางในช่องทางการจัดจำหน่าย และประเภท Consumers คือ กลุ่มผู้บริโภค ทั้งนี้ บริษัทไม่ควรดึงลูกค้าทุกคนเข้ามาเป็นกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด

5.การจัดทำแผนการตลาด
บริษัทควรจะจัดลำดับความสำคัญของแต่ละกลุ่มเป้าหมายว่าควรให้ความสำคัญกับกลุ่มลูกค้าเปาหมายใดเป็นอันดับแรกและรองลงไป และแต่ละกลุ่มนั้นผู้ใดมีบทบาทและมีอำนาจในการตัดสินใจซื้อ เครื่องมือหรือกิจกรรมการสื่อสารการตลาดที่นำมาใช้กับ E-CRM นั้นจะต้องมีความหลากหลาย ดังนี้


-การตลาดโดยตรง Direct Marketing
ได้แก่ โทรศัพท์ ( Telemarketing ) เช่น Call Center ใบรับประกันสินค้า ( Warranty Card ) การตลาดอิเล็กทรอนิกส์ ( E-Marketing ) เช่น การสร้างเวปไซต์ที่ให้สาระน่ารู้เกี่ยวกับสินค้า และมีสื่อตอบกลับให้ลูกค้าสื่อสารกลับมา

-การประชาสัมพันธ์ ( Public Relations )
ได้แก่ เอกสารข่าวแจกในรูปของใบปลิว แผ่นพับ วารสาร การจัดกิจกรรมพิเศษ ( Event Marketing ) เช่น การเชิญลูกค้าเป้าหมายที่ถูกต้องมาร่วมงานที่บริษัทจัดขึ้น

-การโฆษณา ( Advertising )
เช่น การเขียนข้อความแบบเป็นกันเอง และพิมพ์ส่วนท้ายของโฆษณาในสื่อสิ่งพิมพ์ เป็นคูปองเพื่อให้ลูกค้ากรอกรายละเอียดตอบกลับมายังบริษัท ทั้งนี้เพื่อขอรับข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าเพิ่มเติม


-การส่งเสริมการขาย ( Sales Promotion )
เป็นการสร้างและเพิ่มยอดซื้อของลูกค้าอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาหนึ่ง ได้แก่ แคมเปญสะสมแต้มคะแนนจากยอดซื้อเพื่อแลกรับของรางวัลหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ การนำสินค้าเก่ามาแลกซื้อสินค้าใหม่ ซึ่งการส่งเสริมการขายนี้เหมาะสำหรับ E-CRM ที่มุ่งสร้างสัมพันธ์กับลูกค้าใหม่

วันอังคารที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2557

สงกรานต์ของฉัน

13 เมษายน 2557
เริ่มต้น ชิวๆนั่งกินติมก่อนลุย สงกรานต์ ที่จังหวัดแพร่


กลางคืนไปนั่งทานข้าวชิวๆกับเพื่อนๆที่กลับมาจาก ต่างจังหวัด  ที่ร้าน Bleach bar


 14 เมษายน 2557

เลี้ยงรุ่น เทพพิทักษ์ กับเพื่อนเก่าๆสมัยเรียน ม.ต้น ครับ


 15 เมษายน 2557
เล่นน้ำกับเพื่อนๆ ที่ร้าน Bleach bar

16 เมษายน 2557
อยู่กับครอบครัว ยามเย็นก็ชักว่าวอยู่ข้างบ้านครับ


17 เมษายน 2557
สงกรานต์ที่แพร่ วันสุดท้าย ช่วงเย็นๆนั่งดื่มกับพี่ๆ และเพื่อนๆ


ช่วงหัวค่ำ ไปลุยกันที่ ถนน เจริญเมือง

18 เมษายน 2557
                                                           กลับเชียงใหม่ครับ
 
Blogger Templates